ติวเข้มพิชิต “วางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1” (พื้นฐานวางแผนการเงิน)

Current Time 0:00
/
Duration Time 0:00
Progress: NaN%

ราคา

ซื้อคอร์สนี้ : 8,590.00 ฿

สามารถเรียนจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ภายใน 365 วัน นับจากวันที่ชำระเงิน

เนื้อหาทั้งหมด 28 วิดีโอ ความยาวรวมกัน 8 ชั่วโมง 8 นาที

รู้วิธีทำ เทคนิคและเพิ่มความชำนาญในการทำโจทย์แบบต่างๆ

สรุปเนื้อหาสำคัญและปูพื้นฐานในจุดที่จำเป็นของข้อสอบ วางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1 (พื้นฐานวางแผนการเงิน)

สอนโดย อาจารย์ ธนิตศักดิ์ บุศราไชยพัฒน์ (อ.ฟิวส์) นักวางแผนการเงิน และผู้มีประสบการณ์การติวสอบวิชาการเงินมากกว่า 10 ปี

เกี่ยวกับคอร์สนี้

**คอร์สนี้ไม่สามารถนับชั่วโมงอบรมในการเข้าสอบได้

ปัจจุบันวิชาวางแผนทางการเงินมีบทบาทสำคัญมาก เนื่องจากหากผู้คนไม่ตระหนัก หรือไม่วางแผนการเงิน จะประสบปัญหาที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงิน และเป็นผลเสียแก่ตนเองได้ เช่น ไม่ได้วางแผนเกษียณ ก็ย่อมประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ยามชรา หากไม่ได้วางแผนประกัน ก็ย่อมเกิดผลเสียหากเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือจากไปก่อนวัยอันควร หรือไม่ได้วางแผนการลงทุน ก็ย่อมประสบปัญหาคือ เงินที่เก็บไว้มีผลตอบแทนต่ำกว่าเงินเฟ้อ หรือเงินทำหน้าที่สร้างผลตอบแทนได้ไม่ดีพอ และทำให้เป้าหมายทางการเงินอื่นๆ พลอยประสบปัญหาตามไปด้วย หรือไม่ได้วางแผนภาษี ก็ย่อมประสบปัญหาจ่ายค่าภาษีที่มากเกินไป แทนที่จะใช้ประโยชน์ของค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนทำให้ประหยัดภาษีได้

ดังนั้น นักวางแผนการเงิน จึงมีหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้า ผู้คน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงดำเนินการเข้าไปให้บริการวางแผนการเงิน ตามความจำเป็นต่างๆของลูกค้าท่าน ด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าท่าน ซึ่งนักวางแผนการเงินจะช่วยให้ผู้ที่ได้รับการวางแผนการเงินนั้น สามารถแก้ปัญหาต่างๆทางการเงิน รวมถึงสร้างความมั่นคง ความสมบูรณ์ ในชีวิตจากการวางแผนดังกล่าว ซึ่งหากนักวางแผนการเงินทุกคนตระหนัก ถึงความสำคัญนี้ และช่วยให้ประชาชนทุนคนมีการวางแผนการเงินให้มากที่สุด นอกจากจะทำให้ชีวิตและครอบครัวของผู้ได้รับการวางแผนการเงินแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติของเรามั่นคงขึ้นยิ่งด้วย เช่น หากทุกคนวางแผนเกษียณ ก็จะทำให้ปัญหาคนแก่ไม่มีเงินใช้น้อยลง ซึ่งจะแบ่งเบาภาระของสังคมจากปัญหาผู้สูงอายุ และแบ่งเบาสวัสดิการต่างๆ ที่ผู้เกษียณต้องพึ่งพารัฐ หากทุกคนวางแผนด้านประกัน ก็จะแบ่งเบาภาระของการใช้สวัสดิการของรัฐ และเมื่อทุกๆคนทำประกันสุขภาพ ปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาล ที่ประสบจนทำให้หลายๆคนหมดตัวไปเลย ก็จะน้อยลงได้ เป็นต้น

ฉะนั้น นักวางแผนการเงิน ท่านจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หาความรู้พัฒนาตนเอง ตลอดจนยึดหลักจรรยาบรรณและคุณธรรมที่ดีในการทำงานเสมอ

ประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ
- คอร์สเรียนนี้ เป็นการสรุปเนื้อหาสำคัญและปูพื้นฐานในจุดที่จำเป็นของข้อสอบ “วางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1” (พื้นฐานวางแผนการเงิน)
- มีตัวอย่างแบบฝึกหัดและแนวทดสอบให้ผู้เรียนฝึกทำตลอดเวลาที่เรียน
- ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีทำ เทคนิคและเพิ่มความชำนาญในการทำโจทย์แบบต่างๆ
- คอร์สนี้จะมีการปูพื้นฐานการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน Taxas BA II plus ให้อย่างละเอียด พร้อมทั้งเทคนิคในการใช้งานให้ง่าย และทำได้อย่างถูกต้อง
- ข้อมูลและบทเรียนปรับปรุงทันสมัยล่าสุดเสมอ 

คอร์สนี้เหมาะกับ
- ผู้ที่เตรียมสอบข้อสอบ “วางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1” (พื้นฐานวางแผนการเงิน)
- ผู้ที่เตรียมสอบขึ้นทะเบียน IP License (Investment Planner)
- ผู้ที่ต้องการเรียนรู้วิชาการวางแผนการเงิน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพตนเอง เช่น งานสายประกัน งานสายธนาคาร งานสายลงทุน เป็นต้น

คำถามยอดฮิต: อยากได้ IP License ต้องสอบ CFP Module 1 และ CFP Module 2 หรือไม่?
หากคุณเป็นผู้ที่สอบผ่าน “IC Plain หรือ Single License” และผ่าน “IC Complex2 (ตราสารหนี้และกองทุนซับซ้อน) และ IC Complex 3 (Derivative License)” คุณจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ประเภท1 (ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุน และตราสารซับซ้อน และสัญญาล่วงหน้า) ได้ และจะสามารถแนะนำการลงทุนได้แบบทั่วไปเท่านั้น (การแนะนำการลงทุนทั่วไปคือ เป็นการแนะนำเน้นที่จะเสนอหลักทรัพย์ใดๆ หลักทรัพย์หนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะบุคคล)

หากผู้แนะนำการลงทุนท่านนั้นต้องการแนะนำการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง (เป็นการแนะนำโดยศึกษาและเลือกหลักทรัพย์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การลงทุนในด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงให้นักลงทุนแต่ละคน) จะต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้เป็น “นักวางแผนการลงทุน” หรือ IP License หรือ Investment Planner โดยมีเงื่อนสรุปได้ดังนี้

จะต้องผ่านการทดสอบ 4 ตัวดังนี้
1. IC Plain หรือ Single License
2. IC Complex 2 หรือ ตราสารหนี้และกองทุนซับซ้อน และมีความเสี่ยงสูง
3. IC Complex 3 หรือ Derivative License หรือ TFEX License
4. CPF Certified Financial Planning (เฉพาะ CFP Module 1) เรื่อง พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี จรรยาบรรณ
5. CPF Certified Financial Planning (เฉพาะ CFP Module 2) เรื่อง การวางแผนการลงทุน

ทั้งนี้ หากสามารถผ่านหลักสูตรทดสอบ CPF Certified Financial Planning ได้ครบทุก Module จะสามารถเป็นนักวางแผนการเงิน และจะสามารถใช้คำว่า “CFP” ตามหลังนามสกุลของท่านได้ ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมนักวางแผนทางการเงินกำหนดได้

ผู้สอน

ธนิตศักดิ์ บุศราไชยพัฒน์ (อ.ฟิวส์)

นักวางแผนการเงิน (Certified Financial Planner)

Challenge Me Tutor

ติวเตอร์วิชาทางบัญชีและการเงิน ประดับปริญญาตรีและปริญญาโท

หลักสูตรของคอร์สนี้

บทนำ
แนะนำคอร์สออนไลน์
3:09
IP License คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้างเพื่อให้ได้ IP License
3:21
ทำความรู้จักอาจารย์ และช่องทางการติดต่อ
1:11
Chapter 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน
1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน
18:16
1.2 ตะลุยโจทย์ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน
13:52
Chapter 2 : เครื่องมือการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล
2.1 การบริหารเงินสด พร้อมตะลุยโจทย์
17:40
2.2 การจัดการสินเชื่อ พร้อมตะลุยโจทย์
19:22
2.3 ประเภทสินเชื่อ และรูปแบบการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย พร้อมตะลุยโจทย์
11:16
2.4 การเช่า และการซื้อ พร้อมตะลุยโจทย์
5:07
Chapter 3 : การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล
3.1 การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล
33:49
3.2 ตะลุยโจทย์ : การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล
33:05
3.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล
14:17
3.4 ตะลุยโจทย์ : การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล
15:55
Chapter 4 : มูลค่าเงินตามเวลา
4.1 หลักความคิดพื้นฐานของแนวคิดมูลค่าเงินตามเวลา และการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
42:47
4.2 ตะลุยโจทย์ หลักความคิดพื้นฐานของแนวคิดมูลค่าเงินตามเวลา และการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
10:50
4.3 การคิดมูลค่าเวลาแบบ (ต้นงวด) พร้อมตะลุยโจทย์
6:24
4.4 การหาดอกเบี้ยที่แท้จริง พร้อมตะลุยโจทย์
22:05
4.5 มูลค่าตามเวลา โดยวิธี Amortization (ลดต้นลดดอก) พร้อมตะลุยโจทย์
8:31
4.6 กรณีกระแสเงินสดแต่ละงวดไม่เท่ากัน (โหมด CF) พร้อมตะลุยโจทย์
37:36
Chapter 5 : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
17:31
5.2 ตะลุยโจทย์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5:08
5.3 เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น ภาษีบุคคลธรรมดา
36:15
5.4 ตะลุยโจทย์ : เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น ภาษีบุคคลธรรมดา
5:39
5.5 ประเภทเงินได้พึงประเมิน 40(1-8) และการหักค่าใช้จ่าย
25:18
5.6 การหักค่าลดหย่อน
16:28
5.7 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมตะลุยโจทย์
23:22
Chapter 6 : จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
6.1 จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
11:58
6.2 ตะลุยโจทย์ : จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
27:52